วิธีทำ SEO

SEO คืออะไร วิธีทำเว็บให้อยู่หน้าแรก Google

SEO คืออะไร

SEO ย่อมาจากคำว่า Search Engine Optimization คือการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์เราให้ได้รับอันดับที่ดีที่สุดในผลการค้นหา ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้ว่า คนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในเมือง หรือชนบท สามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตกันได้มากขึ้น และกำลังจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าถึงอินเตอร์เนตได้ เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรซักอย่าง เราจะต้องใช้โปรแกรม Search Engine อย่าง Google, Bing, Baidu, Yahoo เป็นต้นในการค้นหาข้อมูล

google webmaster tool

เราสามารถแบ่งคนที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ SEO เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ผู้ซื้อ คือ คนทั่วไปที่ต้องการหาข้อมูลอะไรซักอย่าง เพื่อซื้อ ใช้บริการ หรือแค่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูล
- ผู้ขาย คือ เจ้าของเว็บไซต์ ที่ขายสินค้า หรือผู้ให้ข้อมูลต่าง ๆ บนโลกอินเตอร์เนต
- ผู้ให้บริการ คือ เจ้าของ Search Engine เป็นคนกลางที่ทำให้ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย มาเจอกัน
ทำหน้าที่ในการจัดอันดับลำดับความสำคัญของข้อมูลว่า ผู้ค้นหา ควรได้เจอกับ ผู้ให้บริการ คนไหนเป็นอับดับแรก

สำหรับคนทำ SEO เราอยู่ในฐานะของ ผู้ให้บริการ หรือคนที่เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์บนโลกออนไลน์ เพื่อต้องการให้คนส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูล และเจอเว็บไซต์ของเราแสดงผลเป็นอันดับต้น ๆ ให้ติดอันดับที่ดีในผลการค้นหาได้ และแน่นอนว่า คนที่เราต้องเอาอกเอาใจมากเป็นที่สุดคือ นายหน้า หรือก็คือ Search Engine เครื่องมือที่คนส่วนใหญ่ใช้ค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์นั่นเอง เราในฐานะผู้ให้บริการจะต้องค่อยศึกษาข้อมูลอยู่เสมอว่า Search Engine ชอบอะไร ชอบข้อมูลแบบไหน ชอบโครงสร้างเว็บไซต์แบบไหน และต้องทำให้ได้แบบนั้นเป๊ะ ๆ เท่านั้น และนี่เป็นการตอบคำถามที่ว่า SEO คืออะไร

Search Engine คืออะไร

Search Engine คือ โปรแกรม หรือ เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนโลกอินเตอร์เนต โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้ทั้งแบบข้อความ รูปภาพ ไฟล์เสียง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข่าวสาร หรือแม้แต่ข้อมูลส่วนบุคคล โปรแกรมเสิร์ชเอนจิน ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้ใช้งานทั่วโลก คือ Google Search Engine มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 92% จากผู้ใช้งานทั่วโลก

เมื่อมีการใช้งานโปรแกรมเสิร์ชเอนจินในการค้นหาข้อมูล แน่นอนว่าเว็บไซต์ที่อันดับที่ดีกว่า แสดงผลในตำแหน่งที่ดีกว่าในผลการค้นหา จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ หรือ ใช้บริการ ของผู้ใช้งาน ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อทำอันดับให้ดีที่สุดในผลการค้นหา อันดับในผลการค้นหาจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการ

5 อันดับ Search Engine

ทำความรู้จัก Search Engine 5 อันดับ ที่คนทั้งโลกใช้งานมากที่สุด

- อันดับ 1 Google Search Engine ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 92%
- อันดับ 2 Microsoft Bing ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 3%
- อันดับ 3 Yahoo! Search Engine ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 2%
- อันดับ 4 Yandex Search Engine ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 1%
- อันดับ 5 Baidu Search Engine ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 1%
- และ Search Engine อื่น ๆ จากทั่วโลก ครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 1%

ทำไมต้องทำ SEO ?

การทำ SEO ทำให้เราได้ลูกค้า โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณา ในระยะยาวแล้ว คุ้มค่า และ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทุ่มเงินลงทุนไปกับโฆษณามาก

- ถ้าคุณทำธุรกิจ Pool villa บ้านพักพร้อมสระว่ายน้ำที่พัทยา คุณต้องการให้คนค้นหาแล้วเจอเว็บไซต์คุณเป็นอันดับต้น ๆ คุณต้องทำ SEO
- ถ้าคุณทำธุรกิจ ร้านนวดสปา คุณต้องการให้คนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงร้าน หรือเขตใกล้เคียง ค้นหาแล้วเจอร้านคุณ คุณต้องทำ SEO
- ถ้าบ้านคุณมีธุรกิจที่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น และคุณต้องการให้คนรู้จักแบรนด์ธุรกิจคุณมากขึ้น ( Awareness ) คุณต้องทำ SEO
- ถ้าคุณสามารถทำ SEO ให้ติดอันดับที่ดีในผลการค้นหาได้ คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ่ายค่าโฆษณา ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ keyword คุณต้องจ่ายเงินต่อคลิกพอ ๆ กับค่าข้าวมื้อหนึ่ง

จากการยกตัวอย่างข้างต้น น่าจะพอตอบคำถามได้ว่า ทำไมธุรกิจส่วนใหญ่ ถึงต้องพึงพา Search Engine

วิธีเลือก Keyword

วิธีเลือก keyword หรือ คำค้นหา ให้วิเคราะห์เว็บไซต์ของเราเองก่อนว่า เว็บไซต์ของเราอยู่ในกลุ่มธุรกิจใด และเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงหรือไม่ หากอยู่ในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูง ควรเน้นทำอันดับกับ 'คำค้นหา' ที่มีการแข่งขันต่ำ หรือ 'คำค้นหา' ที่มีการแข่งขันปานกลาง

ให้เริ่มต้นจากการหา คำค้น หรือ keyword ที่ต้องการให้คนค้นหาและมีโอกาสจะพาผู้ค้นเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา โดยสามารถใช้เครื่องมืออย่าง Google Keyword Planner เพื่อตรวจสอบก่อนว่า คำค้นหานั้น มีการแข่งขันอยู่ในระดับไหน เป็นคำค้นหาที่มีแข่งขันสูง มีการแข่งขันต่ำ หรือปานกลาง เริ่มใช้งาน เครื่องมือวางแผนคีย์เวิร์ด

Meta Tags

Meta Tags คือ แท็กการให้ข้อมูลของหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ เปรียบเหมือนข้อมูลประจำตัวบุคคล ที่ประกอบไปด้วย ชื่อ ที่อยู่ อายุ ตำหนิ ซึ่งเป็นข้อมูส่วนแรกที่ Google หรือโปรแกรม Search Engine อื่น ๆ จะนำไปแสดง ให้ผู้ที่ค้นหา ตัดสินใจคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของเรา ตัวอย่าง Meta Tags หลักที่ทำสคัญ คือ

Title ข้อความแรกที่สรุปโดยย่อว่า หน้าเว็บนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร

Description ข้อความอธิบาย สรุปอย่างละเอียดว่า หน้าเว็บนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร

Keywords คำค้นหาแต่ละคำ คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เพื่อบอกให้ Search Engine ทราบว่า เนื้อหานี้จะแสดงในผลการค้นหา เมื่อค้นหาด้วยคำว่าอะไร

Robots ใช้สำหรับบอกให้ Bot ที่จะเข้ามาเก็บข้อมูลในหน้าเว็บ ของแต่ละ Search Engine เช่น Googlebot, Bingbot ทราบว่าควรจัดการยังไงกับหน้านี้

Author ชื่อ หรือ นามปากกาของผู้สร้างเนื้อหาในหน้านี้

ใช้เครื่องมือสร้างแท็กอัตโนมัติ meta tags generator
ตัวอย่าง HTML Meta Tags

                                    
<title>SEO คืออะไร วิธีทำ SEO ติดหน้าแรก Google</title>                                     
<meta name="keywords" content="วิธีทำ seo, seo คือ">
<meta name="description" content="SEO คืออะไร รับทำ SEO ติดหน้าแรก Google">
<meta name='robots' content='index, follow'>
<meta name="author" content="seoshowtime.com">

                                        

สร้าง favicon

Favicon เป็นการนำคำว่า Favorite และ Icon มารวมเข้าด้วยกัน เป็นการสร้างภาพหลากหลายขนาด ซึ่งจะนำไปใช้เป็นไอคอนของเว็บไซต์ แสดงในแต่ละจุดของโปรแกรม Web Browser แตกต่างกันไปตามแต่ละอุปกรณ์ แต่ละแพลตฟอร์ม เพิ่มจุดเด่นและน่าสนใจ ให้คนที่ใช้งานโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เพื่อค้นหาข้อมูล เป็นเอกลักษณ์ สังเกตเห็นได้ง่าย สร้างความแตกต่าง ที่สำคัญคือ ยังสามารถช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น เว็บไซต์ favicon generator

ตัวอย่าง HTML favicon

                                        
<link rel="apple-touch-icon" sizes="57x57" href="/apple-icon-57x57.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="60x60" href="/apple-icon-60x60.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="72x72" href="/apple-icon-72x72.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="76x76" href="/apple-icon-76x76.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="114x114" href="/apple-icon-114x114.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="120x120" href="/apple-icon-120x120.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="144x144" href="/apple-icon-144x144.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="152x152" href="/apple-icon-152x152.png">
<link rel="apple-touch-icon" sizes="180x180" href="/apple-icon-180x180.png">
<link rel="icon" type="image/png" sizes="192x192"  href="/android-icon-192x192.png">
<link rel="icon" type="image/png" sizes="32x32" href="/favicon-32x32.png">
<link rel="icon" type="image/png" sizes="96x96" href="/favicon-96x96.png">
<link rel="icon" type="image/png" sizes="16x16" href="/favicon-16x16.png">
<link rel="manifest" href="/manifest.json">
<meta name="msapplication-TileColor" content="#ffffff">
<meta name="msapplication-TileImage" content="/ms-icon-144x144.png">
<meta name="theme-color" content="#ffffff">

                                        

สร้าง sitemap

สร้าง sitemap จัดทำเอกสารโครงสร้างเว็บไซต์ จำนวนลิงค์ ลำดับความสำคัญ ไฟล์ไซต์แมพอาจจะอยู่ในรูปแบบ .xml หรือ .html จากนั้นทำการ Submit Sitemap ไปยัง search engine ต่าง ๆ เช่น Google, Bing เป็นต้น เพื่อให้โปรแกรมเสิร์ชเอนจินทำการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราโดยลำดับความสำคัญของแต่ละหน้าตามไฟล์ sitemap และนำไปแสดงในผลการค้นหาตามโครงสร้างที่เราต้องการ เว็บไซต์ xml sitemap generator

ตัวอย่าง XML sitemap

                                        
<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
<urlset
      xmlns="http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/0.9"
      xmlns:xsi="http://www.w3.org/2001/XMLSchema-instance"
      xsi:schemaLocation="http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/0.9
            http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/0.9/sitemap.xsd">
<url>
  <loc>https://www.seoshowtime.com/</loc>
  <lastmod>2023-02-19T11:48:00+00:00</lastmod>
  <priority>1.00</priority>
</url>
</urlset>

                                        

Page Speed

ความเร็วการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ คือ ปัจจัยสำคัญต่อการทำอันดับที่ดีในผลการค้นหา การออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้มีการใช้งานทรัพยากรน้อยที่สุด ลดขนาดของไฟล์ทุกประเภท เช่น images, css, js, html รวมไปถึงการลดปริมาณการ query ข้อมูลจากฝั่ง server side จะช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์

ใช้เครื่องมือ Google PageSpeed Insights เพื่อตรวจสอบระยะเวลาการโหลดใช้งาน resource ประเภทต่าง ๆ และปรับลดในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่ได้ใช้งานออกไป ทำการ minify ทุกไฟล์เท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลด

Google ชอบเว็บไซต์แบบไหน ?

เทคนิคการสร้างเนื้อหาที่ Google ชอบและให้คะแนนคุณภาพสูงที่สุด

- เว็บไซต์ต้องโหลดได้เร็ว ใช้เวลาในการโหลดหน้าเพจน้อยกว่า 3 วินาที
- Keyword หลัก ต้องมีอยู่ใน URL, Title, Description, Meta Keyword, และ ใน Body Content อย่างน้อย 2 ครั้ง
- ใช้ Open Graph Meta Tags ที่มีเนื้อหาเดียวกับ Meta tags หลักของเว็บไซต์ และใส่ og:image เป็นรูปเดียวกับเนื้อหา
- Body Content ต้องมีอย่างน้อย 300 คำขึ้นไป
- ใน Body Content ต้องมีรูปอย่างน้อย 2 รูป และชื่อรูปต้องมี Keyword หลัก
- ใน Body Content ต้องมีแท็ก H1,H2,H3 ตามลำดับ และข้อความในส่วน H1 ต้องมี Keyword หลัก
- ใน Body Content ต้องมี Outbound links ( ลิงค์ออกไปนอกเว็บไซต์ ) อย่างน้อย 1 ลิงค์
- ใน Body Content ต้องมี Internal links ( ลิงค์ไปหน้าเว็บไซต์เดียวกัน ) อย่างน้อย 1 ลิงค์
- หน้าเว็บไซต์ต้องใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ อ่านง่าย ใช้งานง่าย ในทุกอุปกรณ์ คือ มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Submit URL

การ Submit URL คือการยืนยันกับทางผู้ให้บริการโปรแกรม Search Engine ว่าเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ เมื่อทำการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว เราสามารถรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากทางผู้ให้บริการ ปัญหาของเว็บไซต์ ส่ิงที่ต้องแก้ไขปรับปรุง การถูกระงับการใช้งาน การอุทธรณ์เวบไซต์ที่ถูกแบน การระงับการจัดทำดัชนี การขอจัดทำดัชนีใหม่ เป็นต้น

การ Submit URL นั้นยังทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก รายงานสถิติต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ เช่น ปริมาณคำค้นหาที่พบภายในเว็บไซต์ คำค้นหาที่ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ คำค้นหาที่พาคนมายังเว็บไซต์ เป็นต้น

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Google Webmaster Tool คือ Search Console Insights ฟีเจอร์ที่จะทำให้การทำ SEO ของเราสนุกมากยิ่งขึ้น

google analytics


เริ่มต้นใช้งานเครื่องมือสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Webmaster Tool )

สำหรับ Google เราสามารถใช้งานได้ที่ Google Webmaster Tool
สำหรับ Bing เราสามารถใช้งานได้ที่ Bing Webmaster Tool

ChatGPT & SEO

ChatGPT เป็นโมเดลภาษาที่ถูกฝึกสอนด้วยข้อมูลจำนวนมากเพื่อให้มีความสามารถในการสร้างเนื้อหาแบบอัตโนมัติ การสร้างเนื้อหาด้วย ChatGPT อาจจะมีผลกระทบต่อ SEO Google คือ

ความสม่ำเสมอในการสร้างเนื้อหา ChatGPT สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้เวลาและความพยายามในการสร้างเนื้อหาเอง แต่การสร้างเนื้อหาโดยอัตโนมัติอาจทำให้เนื้อหาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจทำให้ SEO ไม่ดีเนื่องจาก Google จะตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาและค้นหาเนื้อหาที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากที่สุด

การสร้างเนื้อหาที่ตรงกัน เนื้อหาที่ถูกสร้างโดย ChatGPT หากเป็นคำถามเดียวกัน หรือคำถามที่ใกล้เคียงกัน และถูกนำไปใช้บนเว็บไซต์หลายเว็บไซต์จะกลายเป็นเนื้อหาที่ซ้ำกัน ( Duplicate Content ) ซึ่งอันตรายอย่างมากสำหรับการทำ SEO เพราะฉะนั้นการสร้างเนื้อหาจาก ChatGPT ควรมีการปรับปรุงแก้ไข Rewrite ใหม่ ให้เนื้อหาแตกต่างจากเดิม แต่ยังคงความหมายไปในทิศทางเดิมไว้

ความเป็นเอกลักษณ์ของเนื้อหา เนื้อหาที่สร้างด้วย ChatGPT อาจไม่สร้างความเป็นเอกลักษณ์เหมือนเนื้อหาที่สร้างโดยมนุษย์ เนื้อหาไม่เข้ากันกับเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ่งอาจทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจและไม่สามารถดึงดูดผู้อ่านได้ ทำให้ Google ไม่นับคะแนน SEO ให้กับเนื้อหานั้นๆ และอาจทำให้ลูกค้าไม่สนใจเนื้อหานั้นๆ

Google Analytics

Google Analytics คือ เครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ อย่าลืมที่จะติดตั้งและใช้งานเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Google Analytics เครื่องมือนี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจกลุ่มลูกค้าของเรามากขึ้น เว็บไซต์ของเรามีคนกำลังออนไลน์อยู่เท่าไหร่ มาจากเว็บไซต์อะไร สื่อโซเชียล หรือ การค้นหา คนส่วนใหญ่ที่ใช้งานเว็บไซต์ของเราส่วนมากใช้งานบนอุปกรณ์อะไร มือถือ แท็บเล็ต หรือ เดสท็อป

google analytics

เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และวางแผนการทำงานได้ ว่าควรลงทุนทำงาน หรือ ปรับปรุงแก้ไขส่วนใดในหน้าเว็บไซต์

เริ่มต้นติดตั้ง และใช้งาน Google Analytics

SEO Strategy

เมื่อทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่เราต้องทำ คือ เฝ้าดูผลลัพธ์ทั้งหมดของเว็บไซต์เราว่า จะสามารถทำอันดับได้ดีในระดับไหน

โดยวิธีดูผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดคือการใช้เครื่องมืออย่าง Google Webmaster Tool โดยหลังจากเข้าสู่ระบบแล้วให้เข้าไปที่เมนู 'ผลการปฏิบัติงาน' ( Performance ) จากนั้นเราก็สามารถดูข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเรา เช่น

google webmaster tool

- รู้ทันทีและแม่นยำ 100% ว่าค้นหาด้วย keyword นี้แล้วเว็บไซต์อยู่อันดับที่เท่าไหร่
- จำนวนการแสดงผลทั้งหมดเมื่อมีคนค้นหา
- จำนวนการคลิกเข้าชมเว็บไซต์จากากรแสดงผลทั้งหมด
- เว็บไซต์แสดงผล จากการค้นหาคำว่าอะไร แสดงผลกี่ครั้ง และคลิกกี่ครั้ง
- keyword ทั้งหมดที่ทำให้เว็บไซต์เราได้แสดงผลในผลการค้นหา
- อันดับโดยเฉลี่ยของแต่ละหน้าเพจเมื่อเกิดการแสดงในผลการค้นหา
- จำนวนการคลิกโดยเฉลี่ย (จำนวนคลิก/จำนวนการแสดงผล)x100 = CTR
- อื่น ๆ

ข้อมูลทั้งหมดใน Google Webmaster Tool จะทำให้เราสามารถสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ( SEO Strategy ) นำมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาให้เว็บไซต์เราทำอันดับได้ดีตามเป้าหมายที่วางไว้